10 สุดยอด เทคนิคการถ่ายภาพทิวทัศน์
หนึ่งในข้อดีของการถ่ายภาพทิวทัศน์ก็คือ คุณไม่จพเป็นต้องใช้ทักษะทางเทคนิคในระดับที่สูงมากนัก สิ่งที่คุณต้องใช้ในการถ่ายภาพที่น่าตื่นตานี้ก็คือเทคนิคพื้นฐานธรรมดาๆ แม้แต่ช่างภาพมืออาชีพใหม่เองก็สามารถเรียนรู้ทักษะพื้นฐานเหล่านี้ได้ใน เวลาไม่นานนัก และนี้คือเคล็ดลับการถ่ายภาพทิวทัศน์สิบวิธีของเรา
1. เพิ่มระยะชัดลึกให้สูงที่สุด
โดยส่วนใหญ่แล้วคุณมักจะต้องการให้องค์ประกอบต่างๆ ในภาพถ่ายทิวทัศน์ของคุณมีความคมชัดตั้งแต่ฉากหน้าไปจนถึงฉากหลัง แต่โชคไม่ดีที่เลนส์ซูมโฟกัสอัตโนมัติรุ่นใหม่ๆ นั้นทำให้ทุกๆ อย่างยากขึ้น เนื่องจากเลนส์เหล่านี้ไม่มีสเกลบอกระยะเพื่อควบคุมระยะชัดลึกในภาพถ่าย
เราได้ทำตารางระยะชัดลึกสำเร็จรูปเพื่อให้คุณทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น ให้คุณหาค่าทางยาวโฟกัสที่แท้จริงในเลนส์ของคุณซึ่งอยู่บริเวณด้านบนของ ตาราง (ค่าทางยาวโฟกัสที่ได้หลังจากคำนวณผ่านค่าอัตราขยายของกล้อง DSLR ของคุณ) จากนั้นก็อ่านค่าลงมาจนกระทั่งคุณได้ค่ารูรับแสงที่คุณต้องการใช้ ระยะทางที่สัมพันธ์กับค่าทั้งสองนั้นคือระยะทางไฮเปอร์โฟกัส (hyper focal) และด้วยการตั้งโฟกัสไว้ที่ระยะทางได้นี้ ระยะชัดลึกของคุณก็จะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของระยะไฮเบอร์โฟกัสไปจนถึง ระยะอินฟินิตี้
Aperture | 20mm | 24mm | 28mm | 35mm | 50mm | 70mm | 100mm | 135mm | 200mm |
f/11 | 1m | 1.5m | 2m | 3m | 6.3m | 12.3m | 25m | 46m | 100m |
f/16 | 0.7m | 1m | 1.4m | 2.1m | 4.3m | 8.5m | 17.5m | 31.5m | 70m |
f/22 | 0.5m | 0.7m | 1m | 1.5m | 3.1m | 6.2m | 12.5m | 23m | 50m |
f/3 | 0.35m | 0.5m | 0.7m | 1m | 2.2m | 4.2m | 8.5m | 16m | 35m |
วัตถุฉากหน้ามีความสำคัญในองค์ประกอบภาพทิวทัศน์ เนื่องจากมันสามารถช่วยสื่อถึงความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องของความลึกและขนาด ได้ วัตถุฉากหน้ายังช่วยนำสายตาเข้าสู่ภาพถ่ายๆพอๆ กับช่วยเพิ่มพลังและความน่าตื่นตาได้เช่นกัน คุณสามารถใช้วัตถุต่างๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของธรรมชาติ หรือวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ก้อนหิน ท่อนไม้ เนินดิน คลื่น กองทราย กองหิน รั้ว ฯลณ ส่วนการจะใช้วัตถุฉากหน้าให้ดีที่สุดนั้น คุณควรใช้เลนส์มุมกว้างอย่างเช่น เลยส์ 28 มม. ถ่ายในระยะใกล้ และอย่าลืมเพิ่มระยะชัดลึกให้สูงที่สุดด้วย
3. มองหาเส้นนำสายตา
เส้นจะช่วยให้องค์ประกอบภาพของคุณมีพลังเพิ่มขึ้นมาก เพราะมันจะดึงสายตาเข้าไปในภาพถ่าย นอกจากนั้นพวกมันยังช่วยเพิ่มความลึกและเน้นสัดส่วนในภาพถ่ายด้วย เช่น หากคุณรวมเส้นที่วิ่งขนานเข้าไปบรรจบกันอย่างเช่นทางเดิน ลำธาร หรือรางรถไฟก็จะทำให้ผู้ดูภาพยากที่จะปฏิเสธในการดูว่าเส้นเหล่นี้จะบรรจบ กันที่จุดไหน ซึ่งจะช่วยดึงดูดทำให้ผู้ดูไล่นสายตาเข้าไปในภาพ เส้นทแยงก็เป็นเส้นนำที่มีพลังเช่นกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันวิ่งมาจาก ด้สนซ้ายล่างไปด้านซ้ายขวาบน ขณะเดียวกันเส้นที่เกิดขึ้นจากเงาหรือรอบคลื่นบนผืนทรายก็สามารถช่วยทำให้ องค์ประกอบของภาพคุณดูมีพลังขึ้นได้เช่นกัน
4. เพิ่มความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว
ทิวทัศน์ส่วนใหญ่จะไม่เคลื่อนไหวและเราก็มักบันทึกให้เป็นเช่นนั้น อย่างไรก็ดีมันก็มักมีองค์ประกอบต่างๆ ในภาพทิวทัศน์ที่เคลื่อนไหว เช่น สายน้ำที่ไหลริน คลื่นที่ซัดสาด ต้นไม้ที่ลู่ลม และปุยเมฆที่กำลังเคลื่อนไหว อย่ากังวลที่จะเน้นให้เห็นสิ่งเหล่านี้ด้วยการเปิดรับแสงที่ยาวนาน ในการถ่ายภาพน้ำตกนั้น ลองใช้ค่าการเปิดรับแสงสักหนึ่งวินาทีไปจนถึงสี่วินาที ส่วนช่วงเวลาย่ำค่ำก็ลองใช้ค่าการเปิดรับแสงสัก 30 วินาทีไปจนถึงหลายๆ นาทีเพื่อบันทึกการเคลื่อนที่ของน้ำ ก้อนเมฆและต้นไม้ คุณยังสามารถลองถ่ายภาพทิวทัศน์ด้วยแสงจันทร์หรือเปิดรับแสงจากท้องฟ้ายาม ค่ำคืนเป็นเวลาหลายชั่วโมงเพื่อบันทึกเส้นแสงของดวงดาวบนฝากฟ้า
5. ใช้แสงจากด้านข้างเพื่อเน้นพื้นผิว
หนึ่งในปัญหาหลักของการถ่ายภาพทิวทัศน์ก็คือเรากำลังพยายามที่จะบันทึก ตัวแบบที่เป็นสามมิติโดยใช้สื่อสองมิติ วิธีการแก้ปัญหานี้เราจะต้องหาวิธีการสร้างความลึกให้กับภาพ การใช้เส้นและวัตถุฉากหน้าเป็นวิธีที่ได้ผล แต่ทิศทางของแสงก็มีความสำคัญด้วยเช่นกัน ถ้าทิวทัศน์ของคุณมีแสงสาดเข้ามาจากด้านข้าง ภาพของคุณก็จะดูเป็นสามมิติมากกว่าภาพทิวทัศน์ที่มีแสงส่องจากด้านหน้า เงาจะเป็นส่วนหนึ่งของภาพและจะช่วยเผยให้เห็นพื้นผิวและรูปทรงให้เด่นชัด ขึ้นขึ้นมา ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ คุณควรพยายามถ่ายภาพทิวทัศน์ที่มีแสงอาทิตย์ส่องมาจากด้สนข้างของกล้องถ่าย ภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเช้าและเย็น ซึ่งดวงอาทิตย์ทำมุมต่ำบนท้องฟ้า
6. เพิ่มอารมณ์ภาพ
ภาพทิวทัศน์ส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จมักจะเป็นภาพที่มีความน่าตื่นตา เปี่ยมไปด้วยอารมณ์และบรรยากาศซึ่งบันทึกความงดงามและบุคลิกของทิวทัศน์นั้น ท้องฟ้าสีน้ำเงินและแสงแดดทีสาดส่องไม่เคยให้ภาพที่เป็นเช่นนี้ ลองหลีกเลี่ยงสภาพอากาศดีๆ แล้วถ่าภาพเมื่อสภาพอากาศมีความน่าสนใจมากกว่านั้น เมฆหมอกมักให้ผลลัพธ์ที่ดีพอๆ กับแสงอาทิตย์ทอยามพายุโหมซึ่งมีแสงอาทิตย์ส่องผ่านก้อนเมฆสีเข้มดำลงมาสู่ พื้นดิน หรืออาจจะเป็นแสงสีทองในยามเช้าตรู่และพลบค่ำซึ่งจะช่วยให้ทิวทัศน์ของคุณดู น่าตื่นตามากขึ้น
7. ถ่ายก่อนเช้าตรู่และก่อนพลบค่ำ
แม้ว่าช่างภาพทิวทัศน์มักจะพูดกันเสมอว่าช่วงเช้าตรู่และพลบค่ำเป็นช่วง เวลาของวันที่ดีที่สุด แต่ก็อย่าไปเชื่อพวกเขามากนัก เริ่มแรกของวันก่อนที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นนั้นเป็นเวลาสุดวิเศษ สีสันมนขณะนั้นจะมีความจัดจ้านไปด้วยแสงสีส้มสาดส่องเข้ามาจากเส้นขอบฟ้าที่ ไร้เมฆ และเมื่อดวงอาทิต์เริ่มลอยตัวขึ้นมา แสงสีเหล่านี้ก็จะเริ่มจางหายไป ดังนั้นคุณจึงน่าจะเตรียมตัวให้พร้อมก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นสักประมาณ 40 นาทีโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณถ่ายภาพใกล้ผืนน้ำซึ่งจะสะท้อนแสงสีที่น่า อัศจรรย์เหล่านั้นไว้ในภาพของคุณ และเช่นเดียวกันยามดวงอาทิตย์ตกดิน คุณก็ไม่ควรรีบเก็บกล้องของคุณในขณะที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว แต่คุณควรจะอยู่รอเพื่อดูแสงสีทองที่สาดส่องทะลุทิวเมฆขึ้นมา แสงสีของท้องฟ้ายามสนธยาก็ดูน่าตื่นตาเช่นเดียวกัน
8. ใช้แสงแฟลร์ให้เป็นประโยชน์
คุณสามารถหลีกเลี่ยงแสงแฟลร์ (flare) ในภาพของคุณได้ด้วยการรักษาความสะอาดเลนส์และฟิลเตอร์ และจะต้องไม่รวมเอาดวงอาทิตย์เข้ามาไว้ในภาพของคุณถ้ามันมีความสว่างเกินไป แต่ในบางโอกาส แสงแฟลร์ก็สามารถให้ผลลัพธ์ที่ดีได้โดยที่มันช่วยเร่งความเข้มของแสงและ เพิ่มพลังให้กับทิวทัศน์นั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทะเลทรายและหิมะ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต้องรักษาเลนส์และฟิลเตอร์ให้สะอาดเพื่อให้แสงแฟลร์ มีความคมชัดสวยงาม หรี่รูรับแสงให้แคบลงขนาด f/16 หรือ f/22 เพื่อให้รูปทรงของแฟลร์มีลักษณะเป็นดาวกระจายและที่สำคัญจะต้องใช้ความระมัด ระวังเวลาถ่ายภาพดวงอาทิตย์เพราะแสงที่แรงจัดนี้สามารถทำลายสายตาของคุณได้ ดังนั้นคุณไม่ควรมองผ่านช่องมองภาพนานเกินจำเป็น และอย่าใช้เลานส์เทเลโฟโต้เนื่องจากมันจะไปเร่งความแรงของแสงอาทิตย์ให้จัด ขึ้นไปอีก ให้คุณใช้เลนส์มุมกว้างแทนซึ่งก็จะช่วยสร้างรูปแฟลร์ที่สวยงามกว่าอีกด้วย
9. ถ่ายภาพเงาดำ
ภาพเงาดำ (silhoueltes) มักจะดูน่าตื่นตาและภาพแบบนี้ก็ถ่ายได้ไม่ยากเลย สิ่งที่คุณต้องทำก็คือการวางวัตถุทึบแสงให้ตัดกับฉากหลังสว่างๆ ลองมองหาต้นไม้หรือสิ่งของ เช่น เสาไฟฟ้าแรงสูง สะพาน หอคอย โบวถ์ แล้วถ่ายภาพสิ่งเหล่านี้ตัดกับท้องฟ้ายามดวงอาทิตย์ขึ้นหรือลง ผืนน้ำก็เป็นฉากหลังที่ยอดเยี่ยมได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีประกายน้ำระยิบระยับบนผิวน้ำ ตัวแบบประเภทเรือหรือกังหันลมนั้นก็เป็นตัวแบบที่เหมาะสมสำหรับภาพถ่ายเงาดำ และพวกมันก็ไม่จำเป็นต้องมีขนาดที่ใหญ่มากในเฟรมเพื่อสร้างพลังให้กับภาพ ถ่ายของคุณ
การเปิดฉายแสงเพื่อสร้างสรรค์ภาพเงาดำนั้นทำได้ง่ายมาก เพียงแค่คุณปรับกล้องของคุณให้เป็นโหมดปรับตั้งช่องรับแสงเอง (Aperture Priority) และเมื่อคุณหาค่ารูปรับแสงที่คุณคิดว่าสามารถให้ระยะชัดลึกที่เพียงพอได้ แล้วก็ถ่ายภาพออกไปได้เลย ปกติคุณจะพบว่าระบบวัดแสงในกล้องของคุณจะปรับค่าการเปิดรับแสงที่พอดีสำหรับ ฉากหลังที่สว่าง ดังนั้น ตัวแบบของคุณก็จะกลายเป็นเงาดำไปโดยอัตโนมัติและคุณก็จะได้ภาพที่สมบูรณ์แบบ โดยไม่ต้องปรับอะไรอีกเลย (ถ้าจำเป็นต้องปรับแต่งภาพ ใช้คำสั่ง Levels และ Curves ในโปรแกรม Photoshop เพื่อทำให้เงาดำมีสำดำสนิท)
10. เปลี่ยนมุมมอง
น่าแปลกที่ช่างภาพจำนวนมากมักจะรีบตั้งกล้องทันทีที่พวกเขามาถึงสถานที่ ถ่ายภาพใหม่ๆ โดยไม่พยายามเดินหามุมที่น่าจะดีกว่านั้น ดังนั้นในครั้งต่อไปที่คุณออกไปถ่ายภาพทิวทัศน์ คุณอาจจะถ่ายภาพจากตำแหน่งแรกที่คุณพบ แต่แทนที่จะติดอยู่ตรงนั้นตลอดเวลา ให้คุณเดินเที่ยวไปรอบๆ เพื่อมองหามุมมองที่แปลกใหม่ออกไป บางครั้งการย้ายกล้องเพียงไม่กี่เมตรก็สามารถสร้างความแตกต่างในภาพถ่ายได้ เป็นอย่างมากและคุณเองอาจจะเจอกับวัตถุฉากหน้าที่ดีขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย ความประทับใจเมื่อแรกพบนั้นมีความสำคัญแต่มันก็อาจจะยังไม่ดีที่สุด ยิ่งคุณสำรวจพื้นที่บริเวณรั้นมากเท่าใด ภาพถ่ายของคุณก็น่าจะดีมากขึ้นเท่านั้น
ที่มา : Lee Frost, Shoot Stunning landscpes, Digital Camera, September 2007 Issue 45, น. 32-44
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น