วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

การวัดและการชดเชยแสง

รื่องการวัดแสงนี่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนกันนะครับ แล้วที่คุณบอกว่ายังไม่เข้าใจนั้น
ไม่เข้าใจจุดไหนของการวัดแสงล่ะครับ ผมจะลองสรุปให้ฟังคร่าวๆละกัน คือระบบวัด
แสงของกล้องนั้น จะมองเป็นสีเทากลาง 18% ครับ หมายความว่าเวลาเรามองวัตถุสีขาวหรือสีดำหรือสีเทากลาง สายตาเราก็จะเห็นตามนั้น
แต่ระบบวัดแสงของกล้องมันมองทุกอย่างเป็นสีเทากลางครับ
วัตถุสีขาวหรือดำ กล้องก็จะมองเป็นสีเทากลาง เช่น ถ่ายสายน้ำตกวัดแสงไปที่สายน้ำตกสีขาว
ถ้าถ่ายตามค่าแสงที่กล้องวัดทันทีก็จะได้สายน้ำตาสีหม่นๆเทาๆครับ
แต่ถ้าคุณชดเชยแสงโอเวอร์สัก 1-2 สตอปก็จะได้ภาพสายน้ำตกที่มีสีขาวเหมือนตาเห็นครับ
ทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่าควรจะชดเชยแสงโอเวอร์ หรือ อันเดอร์ในกรณีไหน
แล้วควรชดเชยแสงกี่สตอป คุณต้องจำไว้เสมอว่าค่าเทากลางคือ
ค่าแสงที่ไม่ต้องชดเชยแสงครับ คือสามารถใช้ค่าแสงจากกล้องที่วัดได้เลย สีที่ใกล้
เคียงหรือตรงกับสีเทากลางก็จะมี สีแดง สีฟ้าเข้ม สีน้ำตาลใบไม้แห้ง หรือสีน้ำตาลของ
ลำต้นของต้นไม้ สีเขียวของใบไม้ทั่วๆไปไม่อ่อนหรือแก่เกินไป
ถ้าคุณถ่ายวัตถุที่สีสว่างกว่าเทากลาง เช่นสีขาว สีเหลืองอ่อน สีครีม
คุณต้องชดเชยแสงให้โอเวอร์คือสัญลักษณ์+
แต่ถ้าคุณถ่ายวัตถุสีเข้มกว่าสีเทากลางคือ สีดำ สีน้ำตาลแก่ คุณต้องชดเชยแสงไปทาง
อันเดอร์คือสัญลักษณ์ – ในระบบวัดแสง
ส่วนที่ว่าชดเชยกี่สตอปนั้นอยู่ที่ประสบการณ์ครับ
แต่หลักง่ายๆที่ผมจะสรุปก็คือ วัตถุสีขาว +2 สตอป วัตถุสีดำ -2 สตอป
วัตถุที่มีสีลดหลั่นกันลงไปเช่น สีเหลือง มันสว่างกว่าเทากลางแต่ไม่ถึงกับขาวก็ควรจะโอเวอร์สัก
1สตอป ส่วนสีน้ำตาลเข้ม สีมันเข้มกว่าเทากลางแต่ไม่ถึงกับดำก็อาจจะอันเดอร์ 1 สตอป
เช่นคุณต้องการถ่ายรถเก็บขยะของกทม. ซึ่งเป็นสีเหลืองทั้งคัน พอคุณรู้ว่าวัตถุที่ถ่าย
คือสีเหลืองต้องชดเชยแสงให้โอเวอร์สัก 1 stop คุณก็วัดแสงที่รถขยะนั่นสมมุติว่าได้
ค่าแสงที่ 125 f/5.6 เป็นค่าที่กล้องวัดแสงให้พอดี แต่นั่นเป็นค่าที่กล้องวัดแสงอ้างอิง
สีเทากลางถ้าเราถ่ายด้วยค่านั้น จะได้สีเหลืองเข้มกว่าตามอง เพราะฉะนั้นคุณต้องชดเชย
แสง 1 stop เพื่อให้ได้สีเหลืองที่สมจริง โดยปรับมาที่ 60 f/5.6 หรือ 125 f/4 ก็ได้นั่นคือ
คุณชดเชยแสงจากค่าแสงจริงที่กล้องอ่านได้ 1 stop ทำให้ได้สีสันที่ถูกต้อง
แต่การที่คุณจะรู้ว่าวัตถุต่างๆควรชดเชยแสงเท่าไหร่ อยู่ที่ประสบการณ์ครับ ถ้าคุณยังงงหรือจำ
ได้ไม่แม่นสักทีว่าวัตถุที่ออกไปทางสีอ่อนกว่าเทากลางต้องชดเชยโอเวอร์ วัดถุที่สีเข้มกว่า
เทากลางต้องชดเชยอันเดอร์ มีหลักจำง่ายๆครับ ท่องไว้เลยว่า ขาวเวอร์ดำเดอร์ แค่นี้
คุณก็จำได้แม่นเลย
ทีนี้ลองมาทำความเข้าใจกับระบบวัดแสงในกล้องของคุณเองดีกว่า
ผมไม่รู้ว่าคุณใช้กล้องรุ่นไหนอยู่
แต่ระบบวัดแสงทั่วๆไปในสมัยนี้จะมี 3 ระบบครับ
คือ ระบบเฉลี่ยทั้งภาพ ระบบเฉลี่ยหนักกลาง และระบบเฉพาะจุด ถ้าคุณใช้กล้องออโต
โฟกัส จะมีระบบเฉลี่ยทั้งภาพกับระบบเฉลี่ยหนักกลางแน่นอน ระบบเฉพาะจุดจะมีกับ
กล้องรุ่นท๊อปๆหน่อย แต่ถ้าคุณใช้กล้องแมนวลจะมีระบบเฉลี่ยหนักกลางเป็นระบบเดียว
ผมจะอธิบายระบบต่างๆโดยคร่าวๆ
ระบบเฉลี่ยทั้งภาพคือกล้องจะแบ่งพื้นที่ในช่องมองภาพออกเป็นส่วนๆ
กี่ส่วนก็แล้วแต่รุ่นของกล้องล่ะครับ แล้วนำค่าแสงแต่ละส่วนมาหาค่าเฉลี่ยกลางๆ
ระบบเฉลี่ยหนักกลาง เป็นระบบที่จะเอาค่าแสงในพื้นที่วงกลมตรงกลาง
ในช่องมองภาพมาราวๆ 75% ส่วนพื้นที่รอบนอกจะนำมาคิด 25% สรุปคือจะเน้นความ
สำคัญตรงกลางภาพ
อีกระบบคือระบะวัดแสงเฉพาะจุด ระบบนี้จะนำพื้นที่ในวงกลมเล็ก
กลางช่องมองภาพจะวัดแสงในพื้นที่วงกลมเล็กๆนั้น 100% ถ้าคุณรู้เรื่องการชดเชย
ค่าแสงต่างๆได้แม่นยำระบบนี้จะทำงานได้ดีที่สุด แต่ถ้าคุณยังไม่เก่งเรื่องชดเชยแสง
ระบบนี้อาจทำให้ภาพนั้นเสียไปเลยก็ได้
ถ้าคุณฝึกวัดแสงใหม่ๆผมแนะนำให้ใช้ระบบเฉลี่ยหนักกลางไปก่อนครับ
โดยเน้นวัตถุที่จะชดเชยแสงให้อยู่กลางภาพเป็นหลัก เพราะ
ระบบเฉลี่ยหนักกลางนี้ เป็นระบบวัดแสงพื้นฐานที่เก่าแก่ที่กล้องทุกตัวต้องมีครับ
ถ้าคุณสนใจจริงๆ แนะนำให้ฝึกด้วยฟิลม์สไลด์ครับ เพราะฟิลม์สไลด์นี่จะเห็นผลโดยตรง
เลย ถ้าคุณถ่ายด้วยฟิลม์เนกาตีฟ บางทีแลปจะแก้ให้ได้ครับ คุณก็ลองดูระบบวัดแสง
ในกล้องคุณว่ากล้องที่คุณใช้อยู่เป็นระบบวัดแสงแบบไหน ต้องเข้าใจการทำงานของ
ระบบวัดแสงว่ามันเป็นยังไง พอเข้าใจระบบวัดแสงกล้องตัวเองแล้วก็ฝึกวัดแสงชด
เชยแสงให้คล่องล่ะครับ ที่ผมพูดมาเป็นการสรุปคร่าวๆนะครับ คุณต้องลองศึกษาให้
ละเอียดจากหนังสือต่างๆแล้วหัดถ่ายไปเรื่อยๆเพื่อเพิ่มประสบการณ์ครับ

ระบบวัดแสงแบบ Center-Weighted เป็นการวัด แสงในวงกลมกลางช่องมองภาพ เน้นในส่วนกลางภาพ 75% เฉลี่ยส่วนรอบๆ เพียง 25% สำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการให้กล้องวัดแสงในส่วนกลางภาพเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นในกล้องระดับมืออาชีพบางรุ่น เช่น D2x , D100 , D70/D70s ยังสามารถปรับเปลี่ยนขนาดของพื้นที่ส่วนกลางที่ใช้ในการวัดแสงได้อีก
ส่วนระบบวัดแสงแบบ Spot จะวัดแสงเฉพาะในวงกลมเล็กกลาง ช่องมองภาพ หรือ ในกรอบพื้นที่โฟกัสที่เลือกไว้ 100% โดยไม่เฉลี่ยพื้นที่รอบๆ เลย สำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการเน้นให้ความสว่างเฉพาะในจุดที่ต้องการถ่ายเท่า นั้น เช่น การถ่ายภาพดอกไม้สีอ่อนๆ หรือ สีขาว ที่อยู่ในพุ่มใบไม้ที่ทึบๆ ถ้าวัดแสงเฉลี่ย ส่วนใบไม้จะสว่างขึ้น แต่ดอกไม้จะสว่างเกินไป ถ้าวัดแสงเฉพาะจุดที่ดอกไม้ ให้สว่างพอดี ส่วนใบไม้ก็จะดำทึบ เป็นต้น
การวัดแสงบริเวณกึ่งกลางภาพ ‘Center-Weighted Metering’ เพื่อเน้นค่าแสง บริเวณตัวแบบ เหมาะสำหรับถ่ายภาพบุคคล
คำอธิบายภาพ ’3D Matrix Metering’การวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพ เหมาะสำหรับถ่ายภาพ แบบทั่วๆไป เช่นภาพวิวทิวทัศน์
‘Spot Metering’การวัดแสงเฉพาะจุด เน้นเฉพาะวัตถุที่ต้องการถ่าย ในที่นี้วัดแสงที่บริเวณเกสรดอกไม้ เหมาะสำหรับการถ่ายภาพระยะใกล้ ‘Close-up’

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น