วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

การถ่ายภาพในที่แสงน้อยไม่ให้ภาพสั่นไหว

ผู้ ใช้กล้องดิจิตอลส่วนมากจะมีปัญหาภาพสั่นไหว โดยเฉพาะเมื่อถ่ายภาพในที่แสงน้อยๆ ทั้งนี้เนื่องมาจากเวลาอยู่ในที่แสงน้อย กล้องจะลดความเร็วชัตเตอร์ลงมาเพื่อให้ปริมาณแสงเพียงพอ การลดความเร็วชัตเตอร์ (เพิ่มเวลาเปิดรับแสง) ทำ ให้ภาพมีโอกาสสั่นไหวได้มากขึ้น ยิ่งแสงน้อยเท่าไร ภาพยิ่งมีโอกาสสั่นไหวมากขึ้นเท่านั้น ผู้ใช้กล้องสามารถสังเกตว่าภาพจะมีโอกาสสั่นไหวหรือไม่จากการดูค่าความเร็ว ชัตเตอร์ที่จอ LCD ของกล้อง หากความเร็วชัตเตอร์ต่ำกว่า 1/60 วินาที โอกาสสั่นไหวของภาพจะสูง และยิ่งซูมภาพมากเท่าไร โอกาสภาพจะสั่นไหวยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย ปกติความเร็วชัตเตอร์ที่สามารถทำให้มือถือกล้องนิ่งได้จะอยู่ที่ 1/ทางยาวโฟกัสของเลนส์เทียบกับกล้องขนาด 35 มม. เช่น ถ้าใช้กล้องคอมแพคดิจิตอลที่ขนาดเลนส์ 5.6 mm. เทียบเป็นกล้อง 35 ได้ทางยาวโฟกัส 50 มม. ก็ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ประมาณ 1/50 วินาทีขึ้นไป เป็นต้น
        แต่ในสภาพแสงน้อยๆ โอกาสที่จะได้ใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงอย่างที่ต้องการเป็นไปได้น้อยมากๆ ดังนั้นภาพจึงมีโอกาสสั่นไหวสูงเป็นพิเศษ  ทางแก้ปัญหาจะมีอยู่ 2 แนวทางคือ
            1. เพิ่มความไวแสงของกล้องให้สูงขึ้น เพื่อให้ใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น ข้อดีคือ สามารถใช้มือถือกล้องถ่ายภาพได้ตามปกติ  ใช้ ความเร็วชัตเตอร์สูงจับการคลื่อนไหวของวัตถุได้ เหมาะกับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวในที่แสงน้อยๆ ข้อเสียคือ ภาพจะมีสัญญาณรบกวนสูงขึ้น ยิ่งเพิ่มความไวแสงยิ่งมีสัญญาณรบกวน ภาพจะขาดความคมชัด รายละเอียดหายไปบ้าง สีสันผิดเพี้ยนไม่อิ่มตัวนัก คุณภาพโดยรวมลดลง
            2. ใช้ ขาตั้งกล้อง ทำให้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำได้โดยกล้องไม่สั่นไหว ข้อดีคือได้ภาพคมชัด สีสัน รายละเอียด และคุณภาพโดยรวมไม่ตกลงเหมือนการเพิ่มความไวแสง แต่ข้อเสียคือ ต้องพกขาตั้งกล้อง ซึ่งอาจจะเกะกะและสร้างความลำบากในการเดินทางอยู่บ้าง   และไม่เหมาะกับการถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น