White Balance หรือสมดุลแสงสีขาว เป็นสิ่งที่เกิดมาจากกล้องวีดีโอครับไม่ใช่กล้อง slr หากจะต้องการถ่ายภาพด้วยระบบดิจิตอลได้ดีต้องเข้าใจเรื่้องนี้เป็นอย่้างดี เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญและน่าสนใจในการถ่ายภาพ หลายคนอาจจะยังสงสัยว่ามันคืออะไร ขอเล่าให้ฟังง่ายๆอย่างนี้ละกันครับ
สีของแสง
ใน แต่ละช่วงเวลาของวัน เราสังเกตได้ว่าแสงแดดมีสีต่างกัน เช่นช่วงเช้าจะออกเหลือง ช่วงเที่ยงจะขาว และช่วงเย็นจะออกสีส้ม หรือสีของแสงไฟจากหลอดฟลูออเรสเซนต์จะอมเขียวหน่อยๆ สีของแสงไฟจากหลอดไส้จะออกสีส้ม ซึ่งสามารถดูได้จาก ชาร์ตข้างบน และอธิบายได้คือ
เทียนไข 1900 องศาเคลวิน
หลอดทังสเตน 2700 องศาเคลวิน
พระอาทิตย์ขึ้น/ตก 3100 องศาเคลวิน
1 ชั่วโมงก่อนพระอาทิตย์ขึ้น/ก่อนพระอาทิตย์ตก 3600 องศาเคลวิน
หลอดฟลูออเรสเซนต์ 4500 องศาเคลวิน
แดดตอนเที่ยง 5500 องศาเคลวิน
โพล้เพล้/เช้ามืด 7000 องศาเคลวิน
สรุปว่า
อุณหภูมิสี ต่ำ จะออกไปทางสีส้ม
อุณหภูมิสี สูง จะออกไปทางสีฟ้า
การตั้งค่าWhite Balanceหรือปรับสมดุลแสงสีขาว คือการตั้งค่าของกล้อง ให้เห็นแสงสีใดๆก็ตาม ให้เป็นสีขาว
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแสงขณะนั้นเป็นสีอะไร?
วิธี ที่เราจะรู้ ก็คือวิธีเดียวที่กล้องจะรู้ คือมองวัตถุสีขาว เช่น กระดาษขาว เสื้อสีขาว ผนังสีขาว ตอนที่เราจะตั้งค่าWhite Balance ก็ให้หันกล้องไปหาวัตถุสีขาว เช่น กระดาษขาวให้เต็มเฟรม
แล้วกล้องจะเห็นกระดาษขาว เป็นสีอะไร?
อัน นี้ขึ้นอยู่กับว่า ก่อนหน้านี้กล้องถูกตั้งWhite Balanceไว้ที่ค่าอะไร แต่ไม่ต้องสนใจ ว่ากระดาษขาวเป็นสีอะไร การตั้งWhite Balanceใหม่ จะทำให้กล้องเห็นภาพกระดาษนั้น เป็นสีขาว คือกล้องถูกทำให้เชื่อว่าแสงนั้นเป็นสีขาว
การตั้งค่าWhite Balance เอง มีประโยชน์อย่างไร?
จะ เป็นช่องทางให้เราควบคุมสีของแสงนั่นเองครับ คือ การที่เราสามารถหลอกให้กล้องเชื่อว่าแสงสีใดเป็นสีขาว มีผลทำให้แสงอื่นๆถูกบิดเบือนไปด้วย ทำให้เราเล่นสีของแสงโดยปรับWhite Balance หลอกนั่นเอง
เช่น
เราอยากได้ภาพที่ดูร้อน แห้งแล้ง ส้ม กว่าความเป็นจริง
ถ้าเราถ่ายตอนเที่ยง แล้วสีของแสงไม่ส้มอย่างที่ต้องการ
ก็ให้ปรับWhite Balance ที่กระดาษขาว ฉายด้วยไฟสีน้ำเงิน
เมื่อกล้องเชื่อว่า แสงสีฟ้าคือสีขาว ดังนั้น แสงสีขาวตอนเที่ยง ก็จะถูกบิดจนกลายเป็นสีส้ม นั่นเอง
หรือ เราถ่ายDay for Night ฉากกลางคืน
ภายใต้ไฟฟลูออเรสเซนต์สีขาว แต่ภาพมันไม่น้ำเงินเหมือนตอนกลางคืน อยากได้ภาพที่ดูเป็นกลางคืน น้ำเงินกว่าความเป็นจริง
ก็ให้ปรับWhite Balance ที่กระดาษขาว ฉายด้วยไฟสีส้ม
เมื่อกล้องเชื่อว่า แสงสีส้มคือสีขาว ดังนั้น แสงสีขาวก็จะถูกบิดจนกลายเป็นสีน้ำเงิน นั่นเอง
ทำไมไม่ใช้ฟิลเตอร์ล่ะ?
การทำงานของฟิลเตอร์คือตัดแสงสีต่างๆ เช่น
ฟิลเตอร์น้ำเงิน ตัดแสงสีเหลือง
ฟิลเตอร์ม่วง ตัดแสงสีเขียว
ฟิลเตอร์เหลือง ตัดแสงสีน้ำเงิน
ดังนั้นสีของเสื้อผ้า ฉาก ฯ จะเพี้ยนไปหมดทั้งเฟรม
เช่น ฉากกลางคืน มีแสงส่องเข้ามาจากหน้าต่าง มีไฟโคมหัวเตียง
ฟิลเตอร์ สีน้ำเงินก็จะตัดสีเหลือง ทำให้เสื้อสีส้มจืดลง สีผิวก็จะเพี้ยน ส่วนที่เป็นสีขาวก็จะกลายเป็นฟ้าอ่อน ส่วนที่เป็นสีแดงก็จะเข้ม
แต่การ ปรับWhite Balanceหลอก จะมีผลที่สีของแสงเท่านั้น ส่วนที่ไม่โดนแสงก็จะไม่มีการตัดสีของวัตถุ
หรือ ถ้าไม่สะดวกตั้งเป็นไวท์บาลาน ก็ต้องเป็นโหมดต่าง ๆ ของกล้องที่ให้ไว้ ซึ่งหลัก ๆ จะมี เดย์ไลย์ กับ ทังสเตนอยู่แล้ว ครับ หรือถ้าโปรมากก็ตั่งเป็นอุณหภูมิสีก็ได้ครับ
สีของแสง
ใน แต่ละช่วงเวลาของวัน เราสังเกตได้ว่าแสงแดดมีสีต่างกัน เช่นช่วงเช้าจะออกเหลือง ช่วงเที่ยงจะขาว และช่วงเย็นจะออกสีส้ม หรือสีของแสงไฟจากหลอดฟลูออเรสเซนต์จะอมเขียวหน่อยๆ สีของแสงไฟจากหลอดไส้จะออกสีส้ม ซึ่งสามารถดูได้จาก ชาร์ตข้างบน และอธิบายได้คือ
เทียนไข 1900 องศาเคลวิน
หลอดทังสเตน 2700 องศาเคลวิน
พระอาทิตย์ขึ้น/ตก 3100 องศาเคลวิน
1 ชั่วโมงก่อนพระอาทิตย์ขึ้น/ก่อนพระอาทิตย์ตก 3600 องศาเคลวิน
หลอดฟลูออเรสเซนต์ 4500 องศาเคลวิน
แดดตอนเที่ยง 5500 องศาเคลวิน
โพล้เพล้/เช้ามืด 7000 องศาเคลวิน
สรุปว่า
อุณหภูมิสี ต่ำ จะออกไปทางสีส้ม
อุณหภูมิสี สูง จะออกไปทางสีฟ้า
การตั้งค่าWhite Balanceหรือปรับสมดุลแสงสีขาว คือการตั้งค่าของกล้อง ให้เห็นแสงสีใดๆก็ตาม ให้เป็นสีขาว
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแสงขณะนั้นเป็นสีอะไร?
วิธี ที่เราจะรู้ ก็คือวิธีเดียวที่กล้องจะรู้ คือมองวัตถุสีขาว เช่น กระดาษขาว เสื้อสีขาว ผนังสีขาว ตอนที่เราจะตั้งค่าWhite Balance ก็ให้หันกล้องไปหาวัตถุสีขาว เช่น กระดาษขาวให้เต็มเฟรม
แล้วกล้องจะเห็นกระดาษขาว เป็นสีอะไร?
อัน นี้ขึ้นอยู่กับว่า ก่อนหน้านี้กล้องถูกตั้งWhite Balanceไว้ที่ค่าอะไร แต่ไม่ต้องสนใจ ว่ากระดาษขาวเป็นสีอะไร การตั้งWhite Balanceใหม่ จะทำให้กล้องเห็นภาพกระดาษนั้น เป็นสีขาว คือกล้องถูกทำให้เชื่อว่าแสงนั้นเป็นสีขาว
การตั้งค่าWhite Balance เอง มีประโยชน์อย่างไร?
จะ เป็นช่องทางให้เราควบคุมสีของแสงนั่นเองครับ คือ การที่เราสามารถหลอกให้กล้องเชื่อว่าแสงสีใดเป็นสีขาว มีผลทำให้แสงอื่นๆถูกบิดเบือนไปด้วย ทำให้เราเล่นสีของแสงโดยปรับWhite Balance หลอกนั่นเอง
เช่น
เราอยากได้ภาพที่ดูร้อน แห้งแล้ง ส้ม กว่าความเป็นจริง
ถ้าเราถ่ายตอนเที่ยง แล้วสีของแสงไม่ส้มอย่างที่ต้องการ
ก็ให้ปรับWhite Balance ที่กระดาษขาว ฉายด้วยไฟสีน้ำเงิน
เมื่อกล้องเชื่อว่า แสงสีฟ้าคือสีขาว ดังนั้น แสงสีขาวตอนเที่ยง ก็จะถูกบิดจนกลายเป็นสีส้ม นั่นเอง
หรือ เราถ่ายDay for Night ฉากกลางคืน
ภายใต้ไฟฟลูออเรสเซนต์สีขาว แต่ภาพมันไม่น้ำเงินเหมือนตอนกลางคืน อยากได้ภาพที่ดูเป็นกลางคืน น้ำเงินกว่าความเป็นจริง
ก็ให้ปรับWhite Balance ที่กระดาษขาว ฉายด้วยไฟสีส้ม
เมื่อกล้องเชื่อว่า แสงสีส้มคือสีขาว ดังนั้น แสงสีขาวก็จะถูกบิดจนกลายเป็นสีน้ำเงิน นั่นเอง
ทำไมไม่ใช้ฟิลเตอร์ล่ะ?
การทำงานของฟิลเตอร์คือตัดแสงสีต่างๆ เช่น
ฟิลเตอร์น้ำเงิน ตัดแสงสีเหลือง
ฟิลเตอร์ม่วง ตัดแสงสีเขียว
ฟิลเตอร์เหลือง ตัดแสงสีน้ำเงิน
ดังนั้นสีของเสื้อผ้า ฉาก ฯ จะเพี้ยนไปหมดทั้งเฟรม
เช่น ฉากกลางคืน มีแสงส่องเข้ามาจากหน้าต่าง มีไฟโคมหัวเตียง
ฟิลเตอร์ สีน้ำเงินก็จะตัดสีเหลือง ทำให้เสื้อสีส้มจืดลง สีผิวก็จะเพี้ยน ส่วนที่เป็นสีขาวก็จะกลายเป็นฟ้าอ่อน ส่วนที่เป็นสีแดงก็จะเข้ม
แต่การ ปรับWhite Balanceหลอก จะมีผลที่สีของแสงเท่านั้น ส่วนที่ไม่โดนแสงก็จะไม่มีการตัดสีของวัตถุ
หรือ ถ้าไม่สะดวกตั้งเป็นไวท์บาลาน ก็ต้องเป็นโหมดต่าง ๆ ของกล้องที่ให้ไว้ ซึ่งหลัก ๆ จะมี เดย์ไลย์ กับ ทังสเตนอยู่แล้ว ครับ หรือถ้าโปรมากก็ตั่งเป็นอุณหภูมิสีก็ได้ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น