ทำความเข้าใจกับการวัดแสง | |
จะยังประโยชน์ส่วนใดขึ้นมาได้กับภาพถ่ายที่จัดองค์ประกอบได้สุดยอด จังหวะการ ลั่นชัตเตอร์สุดเยี่ยมแต่ทั้งภาพสว่างขาวโพลนหรือไม่ก็มืดมัวคล้ำไป สีสันและรายละ เอียดถูกทำลายลงอันเนื่องมาจากความไม่เข้าใจในเรื่องของการวัดแสงก่อนที่จะลั่น ชัตเตอร์! ![]() ความสำคัญต่อสิ่งที่เรากำลังจะลงมือทำเป็นอย่างมาก พ่อครัวจำเป็นต้องรู้ปริมาณของ เครื่องปรุงเพื่อให้มันมีปริมาณที่พอดีสำหรับอาหารจานเด็ด สูตรน้ำยาเคมีต้องมี ปริมาณของสารประกอบชนิดที่คลาดเคลื่อนไม่ได้ ช่างก่อสร้างต้องรู้ปริมาณของปูนและ ทรายเพื่อผสมมันให้เกิดความแกร่งแข็งแรง ฯลฯ "กล้องถ่ายภาพ" ก็จำเป็นต้องรู้ปริมาณของ "แสง" ก่อนที่จะเก็บกลืนมันเอาไว้ใน เซนเซอร์รับภาพในระดับที่เหมาะสม มากน้อยอย่างไรก็สุดแต่ใจของคนที่อยู่ข้างหลัง มันนั่นเองมนุษย์หลังเซนเซอร์จำนวนมากลั่นชัตเตอร์ออกไปโดยที่ไม่รู้ว่ากำลังเก็บแสง เข้ามาในปริมาณเท่าใด เพราะไม่เคยรู้และเข้าใจเลยว่ากล้องถ่ายภาพมีการวัดปริมาณแสง โดยรายงานให้รู้ทุกครั้งก่อนจะกดชัตเตอร์ หากดวงดีก็อาจจะได้ภาพที่ดูดี แต่ส่วนใหญ่ แล้วมักจะงงงันกันเป็นแถวๆ ว่าทำไมภาพถ่ายของเราถึงได้มืดบ้าง สว่างบ้าง ไม่เห็นตรง ตามที่ใจต้องการ บ้างก็โทษกล้อง บ้างก็โทษดวง บ้างก็โทษตัวเอง โดยที่ลืมไปว่าปัญหา เหล่านั้นจะคลายตัวลงไปได้เพียงแค่ทำความเข้าใจกับ "ระบบการวัดแสง" ที่มีอยู่ในกล้อง ถ่ายภาพทุกตัวว่ามันทำงานอย่างไร? และเราควรทำตัวอย่างไร? ...ซึ่งเมื่อเข้าใจแล้ว ปัญหาที่ว่านั้นก็จะคลายตัวออกไปในทุกขณะที่ประสบการณ์ ถูกเติมแต้มเข้าไปเรื่อยๆจนกระทั่งวันหนึ่งก็เข้าขั้น "สั่งได้" ในแบบที่มืออาชีพเขาเป็นกัน... ก่อนจะอ่านเรื่องราวต่อไป ขอให้ทำความเข้าใจเอาไว้ก่อนว่า "ปริมาณค่าแสง" และ "ค่าการเปิดรับแสง" นั้นเป็นคนละตัวกัน ตัวแรกคือปัจจัยภายนอกกล้อง และตัวหลังคือปัจจัยภายในกล้อง • ทำไมต้องวัดแสง? เพราะการถ่ายภาพนั้นแท้ที่จริงแล้วคือการบันทึกแสง ซึ่งต้องมีการคิดคำ นวณว่าจะยอมให้แสงผ่านเข้าสู่กล้องได้มากหรือน้อยขนาดไหน จึงจะเป็นปริมาณที่ เรียกได้ว่าพอดีสำหรับการบันทึกภาพ ซึ่งกล้องถ่ายภาพจำเป็นต้องตรวจสอบปริ มาณแสงที่อยู่ตรงหน้านั้นเสียก่อนว่า มีปริมาณแสงอยู่ในระดับใด? จากนั้นจึงจะ กำหนดระดับการเปิดรับแสงเข้าสู่กล้องได้ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งหากไม่มีการวัดปริมาณ แสงเสียก่อนก็จะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าควรจะยอมให้ แสงผ่านเข้าไปมากหรือน้อยอย่าง ไรจึงจะถูกต้องหาก ปรับระดับการเปิดรับแสงไม่เหมาะสม สิ่งที่จะตามมาก็คือ เมื่อเปิด รับแสงเข้ามากเกินไปภาพก็จะสว่างขาวโพลนกว่าที่ควรจะเป็น หากเปิดรับแสงน้อย เกินไปภาพก็จะมืดกว่าที่ควรจะได้ หรือที่เราเรียกว่า ภาพโอเวอร์-อันเดอร์นั่นเอง เปรียบ เทียบไปแล้วก็เหมือนกับการผันน้ำเข้าที่นา เราจำเป็นต้องรู้ว่าปริมาณน้ำในแม่ น้ำมีมากหรือน้อยอย่างไร? ควรจะเปิดประตูกั้นน้ำในระดับไหน เปิดเป็นเวลาเท่าไหร่ น้ำจึงจะไหลเข้าสู่ที่นาได้ในปริมาณที่เหมาะสม หากเปิดให้น้ำเข้ามาได้มากเกินไปก็จะท่วมนาข้าวทำให้เสียหาย แต่ถ้าเปิดให้เข้า ได้น้อยเกินไปน้ำก็จะไม่พอใช้ น้ำก็คือแสง ประตูน้ำก็คือค่าการเปิดรับแสง นาข้าว ก็คือภาพถ่าย น้ำท่วมนาข้าวก็หมายถึงภาพโอเวอร์ น้ำแห้งก็คือภาพอันเดอร์ ...การ ที่เราต้องรู้ปริมาณน้ำในแม่น้ำก็คือการวัดแสง กสิกรที่ไม่รู้จักการคำนวณปริ มาณน้ำภายนอกก็จะเปิดประตูน้ำอย่างสะเปะสะปะ ผลก็คือนาข้าวเกิดความเสีย หายทั้งขาดน้ำและน้ำท่วม เช่นเดียวกับคนถ่ายภาพที่ไม่รู้เรื่องการวัดแสง ก็จะถ่ายภาพอย่างสะเปะสะปะ ภาพถ่ายก็เกิดความเสียหายได้ทั้งจากแสง ที่มากเกินไปและน้อยเกินไปนั่นเอง |
วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น